|
|
![]() | เข้าสู่ระบบ (เจ้าหน้าที่) |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (9) และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 4 แห่งประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
วิธีการบริหารและการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลและกิจการ อันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และประกาศกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2545 เกี่ยวกับ กำหนดกองหรือส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดเชียงใหม่ (ก.อบต.จังหวัด) ในการประชุมครั้งที่ 10 / 2548 เมื่อวันที่ 18 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 จึงประกาศกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ ไว้ดังนี้
1.สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการ งานสารบรรณ การจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดทำร่างข้อบังคับ งานประชุมสภาฯ การจัดทำทะเบียนสมาชิก อบต. งานเลือกตั้งการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม งานกฎหมายและคดี งานส่งเสริมการเกษตร งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานสวัสดิการสังคม การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด งานประชาสัมพันธ์องค์กร การดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุญาตต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 7 งาน คือ
1.1 งานบริหารทั่วไป
-งานสารบรรณ
-งานตรวจสอบภายใน
-งานบริหารงานบุคคล
-งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร
-งานประชาสัมพันธ์
-งานอาคารสถานที่
-งานรักษาความสงบเรียบร้อย
-งานสนับสนุนและบริการประชาชน
-งานรัฐพิธี
-งานประชาสัมพันธ์องค์กร
-งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์
-งานจัดทำข้อบังคับงบประมาณ
-งานโครงการอินเตอร์เน็ตตำบล
-งานประสานโครงการฝึกอบรม
-งานการประชุมกลุ่มพลังมวลชนอื่น ๆ
-งานอำนวยการและประสานราชการ
-งานชุมชนสัมพันธ์
-งานอื่น ๆ ที่มิได้กำหนดว่าเป็นภารกิจหรือความรับผิดชอบของส่วนราชการใด
1.2 งานนโยบายและแผน
-งานนโยบายและแผนพัฒนา
-งานวิชาการ
-งานงบประมาณ
-งานข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
1.3 งานกฎหมายและคดี
-งานกฎหมายและคดี
-งานนิติกรรมและสัญญาต่าง ๆ
-งานการดำเนินการทางคดีและศาลปกครอง
-งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์
-งานระเบียบการคลัง
-งานข้อบัญญัติและระเบียบของอบต.
-งานให้คำปรึกษาทางกฎหมายและคดีแก่ประชาชน
-งานคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพย์สินของทางราชการและสถานที่สาธารณะ
-งานระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาฯ
-งานการประชุมสภาอบต.
-งานประชุมคณะกรรมการสามัญและวิสามัญประจำสภาอบต.
-งานติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
-งานเลือกตั้งสมาชิกสภาอบต.
-งานข้อมูลการเลือกตั้ง
-งานส่งเสริมและสนับสนุนความรู้และวิชาการแก่สมาชิกสภาอบต.
1.4 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
-งานอำนวยการอปพร.
-งานป้องกันสาธารณภัย
-งานช่วยเหลือฟื้นฟูบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรผู้ประสบภัย
-งานกู้ภัย
-งานช่วยเหลือและให้บริการประชาชนในกิจการสาธารณประโยชน์
1.5 งานกิจการสภา อบต.
- งานระเบียบข้อบังคับประชุม
- งานการประชุม
- งานอำนวยการและประสานงาน
1.6 งานส่งเสริมการเกษตร
1.6.1งานส่งเสริมการเกษตร
- งานวิชาการเกษตร
- งานเทคโนโลยีทางการเกษตร
- งานส่งเสริมการเกษตร
1.6.2งานส่งเสริมปศุสัตว์
- งานข้อมูลวิชาการ
- งานบำบัดน้ำเสีย
- งานควบคุมและป้องกันโรคระบาด
1.7 งานสวัสดิการสังคม
1.7.1 งานสวัสดิการสังคม พัฒนาชุมชน และสังคม
-งานสวัสดิการสังคม เช่นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น
-งานสุสานและฌาปณสถาน
-งานสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์
-งานพัฒนาชุมชนและสังคม
-งานจัดระเบียบชุมชน
-งานสังคมสงเคราะห์
-งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี
-งานศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
-งานส่งเสริมและพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
1.7.2งานส่งเสริมอาชีพ และพัฒนาสตรี
-งานส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน
-งานส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรี
-งานสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มสตรี-แม่บ้าน
-งานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจกิจชุมชน
-งานส่งเสริมและพัฒนากลุ่มออมทรัพย์
-งานส่งเสริมและพัฒนากิจการร้านค้าชุมชนประจำตำบลและหมู่บ้าน
-งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
-งานส่งเสริมและสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
-งานส่งเสริมและสนับสนุนการตลาดสินค้ากลุ่มอาชีพ กลุ่มหัตถกรรมและอุตสาหกรรมครอบครัว
2. ส่วนการคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ - จ่ายเงินทุกประเภท
งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ การหักภาษีและนำส่ง รายงานเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ
2.1 งานการเงินและบัญชี
- งานการเงิน
- งานรับเงินเบิกจ่ายเงิน
- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
- งานเก็บรักษาเงิน
- งานการบัญชี
- งานทะเบียนการคุมเบิกจ่ายเงิน
- งานงบการเงินและงบทดลอง
- งานแสดงฐานะทางการเงิน
2.2 งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
- งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า
- งานพัฒนารายได้
- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
- งานทะเบียนควบคุมและเร่งรัดรายได้
2.3 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
- งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
- งานพัสดุ
- งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์
3. ส่วนโยธา มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของอบต. งานบำรุง ซ่อม และจัดทำทะเบียน สิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ และการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ
3.1 งานก่อสร้าง
- งานก่อสร้างและบูรณะถนน
- งานก่อสร้างสะพาน เขื่อน ทดน้ำ
- งานข้อมูลก่อสร้าง
3.2 งานออกแบบและควบคุมอาคาร
- งานประเมินราคา
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร
- งานออกแบบและบริการข้อมูล
3.3 ฝ่ายประสานสาธารณูปโภคและ ผังเมือง
- งานประสานกิจการประปา
- งานไฟฟ้าสาธารณะ
- งานระบายน้ำ
- งานสำรวจและแผนที่
- งานวางผังพัฒนาเมือง
- งานควบคุมทางผังเมือง
4. ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการดูแล ควบคุม สุขาภิบาลอาหารและสถานประกอบการ การควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การรักษาและควบคุมโรค การส่งเสริมและเผยแพร่การป้องกันยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 งาน คือ
4.1 ฝ่ายอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- งานสุขาภิบาลทั่วไป
- งานสุขาภิบาลอาหารและสถานประกอบการ
- งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- งานอนามัยชุมชน
4.2 ฝ่ายรักษาความสะอาดและควบคุมโรค
- งานรักษาความสะอาด
- งานกำจัดขยะและน้ำเสีย
- งานส่งเสริมและเผยแพร่
- งานป้องกันยาเสพติด
- งานสุขศึกษาและควบคุมโรคติดต่อ
5. ส่วนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดผล ประเมินผล การพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษา ของมาตรฐานสถานศึกษา การจัดบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา ส่งเสริมการวิจัย การวางโครงการ สำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติการศึกษา เพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางการปฏิบัติในการจัดการศึกษา การเผยแพร่การศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 2 งาน คือ
5.1 งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
-งานส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์การเรียนชุมชน
-งานส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอนุบาล
-งานประสานและสนับสนุนโรงเรียนประถมและมัธยม
-งานส่งเสริมและสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น
-งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการศาสนา
-งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการเด็กและเยาวชน
-งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และเครือข่ายทางการศึกษา
-งานส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น
-งานเทคโนโลยีทางการศึกษา
5.2 งานส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจการกีฬา
-งานสำรวจแหล่งท่องเที่ยว
-งานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการท่องเที่ยว
-งานปรับปรุงบูรณะและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
-งานบริการที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยว
-งานจัดตั้งและให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว
-งานจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือและบริการนักท่องเที่ยว
-งานส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการกีฬา
-งานดูแล และบำรุงรักษาสนามกีฬาและศูนย์กีฬาประจำตำบล และประจำหมู่บ้าน
-งานบริหารโครงการฝึกสอน ฝึกซ้อม และการแข่งขันกีฬาระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด
-งานควบคุมและให้บริการอุปกรณ์กีฬา
-งานศูนย์เยาวชนประจำตำบล และหมู่บ้าน
-งานจัดหาและดูแลรักษาวัสดุ อุปกรณ์กีฬา