|
|
![]() | เข้าสู่ระบบ (เจ้าหน้าที่) |
ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง
เรื่อง ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง พ.ศ. ๒๕๕๔
-------------------------------------------------
ประมวลจริยธรรมนี้จัดทำขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑. เป็นเครื่องมือกำกับความประพฤติของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ที่สร้างความโปร่งใส มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นสำกล
๒. ยึดถือเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเครื่องมือการตรวจสอบการทำงานด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักคุณธรรมจริยธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๓. ทำให้เกิดรูปแบบองค์กรอันเป็นที่ยอมรับ เพิ่มความน่าเชื่อถือเกิดความมั่นใจแก่ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๔. ให้เกิดพันธะผูกพันระหว่างองค์กรและบุคคลในทุกระดับ ให้ใช้อำนาจในขอบเขตสร้างระบบความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ต่อองค์กร ต่อประชาชนและต่อสังคม ตามลำดับ
๕. ป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ แลนะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ รวมถึงเพื่อใช้เป็นค่านิยมร่วมสำหรับองค์กรและบุคคล พึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับระเบียบและกฎข้อบังคับอื่น ๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อำศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๖ ประกอบกับระเบียบว่าด้วยการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๑๖ จึงออกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทองไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้ เรียกว่า “ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ฝ่ายสภาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง พ.ศ.๒๕๕๔”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วัดถัดจากวันที่ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลงนำมในประกาศ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
“ประมวลจริยธรรม” หมายถึง ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง
“ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น” หมายถึง ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่น (ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เลขำนุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล) รวมทั้งบุคคลที่ฝ่ายสภาท้องถิ่นแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน
“คณะกรรมการจริยธรรม” หมายถึง คณะกรรมการจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง
ข้อ ๔ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด ๒
มาตรฐานจริยธรรม
ส่วนที่ ๑
มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก
ข้อ ๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม เป็นกลางทางการเมือง อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก ๙ ประการ ดังนี้
๑) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม
๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ และถูกกฎหมาย
๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลกระทบทับซ้อน
๔) การยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
๕) การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
๖) การให้ข้อมูลข่ำวสำรแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ส่วนที่ ๒
มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่น
ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ข้อ ๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
ข้อ ๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดี เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรม ทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่รับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน
ข้อ ๑๐ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่แสดงกิริยา หรือใช้วำจำอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด
ข้อ ๑๑ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องมีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ และต้องถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด
ข้อ ๑๒ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องรับใช้ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และปราศจากอคติ
ข้อ ๑๓ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนท้องถิ่นประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี ร่วมกันพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่คู่คุณธรรม และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ
ข้อ ๑๔ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะ หรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมือง ไปแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๑๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองท้องถิ่นเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือน ของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ ๑๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือของผู้อื่น และต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้อำนาจหน้าที่ของตนโดยมิชอบ
ข้อ ๑๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพ หรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนที่มีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ ๑๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องรักษาความลับของทางราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อ ๑๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องยึดมั่นในกฎหมายและคำนึงถึงระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งผู้สมควรดำรงตำแหน่งต่าง ๆ
ข้อ ๒๐ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นเมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว ต้องไม่นำข้อมูลข่าวสาร อันเป็นความลับของทางราชการ ซึ่งตนได้มำในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อเกิดประโยชน์แก่องค์กรเอกชน ทั้งนี้ ภายในกำหนดระยะเวลาสองปี นับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ ๒๑ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้อำนาจในทางที่ผิด การฉ้อฉล หลอกลวง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ข้อ ๒๒ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่เรียกร้องของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องดูแลให้คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย
ข้อ ๒๓ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องปฏิบัติต่อองค์กรธุรกิจที่ติดต่อทำธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐตามระเบียบและขั้นตอนอย่างเท่ำเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ ๒๔ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นพึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอเอาใจใส่ทุกข์สุข และรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ
ข้อ ๒๕ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่ำวสำรของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเพื่อผลประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น
ข้อ ๒๖ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องรักษาทรัพย์สินของทางราชการและใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ เท่ำนั้น
ข้อ ๒๗ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ประพฤติตนอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิชาติ
ข้อ ๒๘ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย หรือผู้ที่มีความประพฤติในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนัน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสเพติด อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธำของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ ๒๙ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่นต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดร้ายแรง
หมวด ๓
กลไกและระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ส่วนที่ ๑
กลไกการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๐ ให้ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างทั่วถึงและเคร่งครัด โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑) ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการการเมืองท้องถิ่นที่เป็นแบบอย่างที่ดี และติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างสม่ำเสมอ
๒) ให้ความช่วยเหลือ ดูแล และคุ้มครองข้าราชการการเมืองท้องถิ่นซึ่งปฏิบัติตาม
ประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมำ มิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม
๓) การดำเนินการต่อข้าราชการการเมืองท้องถิ่นที่อยู่ระหว่างถูกกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติ
ตามประมวลจริยธรรมนี้อันมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของผู้นั้นจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว
๔) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมนี้
ข้อ ๓๑ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง ขึ้นเพื่อควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ประกอบด้วย
๑) ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง เป็นประธานคณะกรรมการจริยธรรม
๒) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทองที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลคัดเลือกจำนวน ๒ คน เป็นคณะกรรมการ
๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจำนวน ๖ คน ที่ผู้กำกับดูแลตาม
พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน เป็นผู้เลือก เป็น คณะกรรมการ
๔) หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
ทั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าวต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยมำก่อน หากเคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อนให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการจากตำแหน่งในฝ่ายบริหารที่เหมาะสม
ข้อ ๓๒ คณะกรรมการจริยธรรมมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑) ควบคุม กำกับ ส่งเสริม และให้คำแนะนำในการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในองค์การบริหารส่วนตำบล
๒) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในองค์การบริหารส่วนตำบล โดยอาจมีผู้ร้องขอหรือตามที่คณะกรรมการจริยธรรมเห็นเองก็ได้
๓) ขอความร่วมมือให้กระทรวง กรม หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือห้างหุ้นส่วน บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสำรและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบถาม
๔) เรียกผู้ถูกกล่าวหา หรือข้าราชการของหน่วยงานนี้มาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
๕) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้
๖) ส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๗) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมอบหมาย
ในการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมำใช้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๒
ระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๓ กรณีมีการร้องเรียนหรือปรากฏว่ามีการปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมเป็นผู้รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการ โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง สืบสวนหาข้อเท็จจริง หรือสอบสวนการฝ่าฝืนจริยธรรมนี้ และให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว และให้คณะกรรมการจริยธรรมส่งผลคำวินิจฉัยให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง มีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
กรณีมีการร้องเรียนหรือปรากฏว่า ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทองปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้คณะกรรมการจริยธรรมที่เหลืออยู่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และให้เลือกกันเองเป็นประธานคณะกรรมการ โดยจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง สืบสวนหาข้อเท็จจริง หรือสอบสวนการฝ่าฝืนจริยธรรมนี้ และให้มีคำวินิจฉัยโดยเร็ว และให้คณะกรรมการจริยธรรมส่งผลคำวินิจฉัยให้ผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน มีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
ข้อ ๓๔ หากการดำเนินไต่สวน สืบสวน สอบสวนตามข้อ ๓๓ แล้ว ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมให้สั่งยุติเรื่อง แต่หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้สั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามข้อ ๓๗
ข้อ ๓๕ การดำเนินการไต่สวน สืบสวน สอบสวนทางจริยธรรมและการลงโทษผู้ฝ่าฝืนตามส่วนที่ ๒ นี้ ให้นำแนวทางและวิธีการสอบสวนตามมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาบังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อ ๓๖ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมให้ถือเป็นที่สุด เว้นแต่
๑) ปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังที่อาจทำให้ผลของคำวินิจฉัยนั้นเปลี่ยนแปลงไป
๒) กรณีผู้ถูกลงโทษตามข้อ ๓๗ เห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้สามารถร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่รับทราบคำสั่งการลงโทษ
ขั้นตอนการลงโทษ
ข้อ ๓๗ การปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ให้ดำเนินการตามควรแก่กรณี เพื่อให้มีการแก้ไขหรือดำเนินการที่ถูกต้อง หรือตักเตือน หรือนำไประกอบการพิจารณาในการเข้าสู่ตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หรือการสั่งให้เป็นผู้ฝ่าฝืนนั้นปรับปรุงตนเอง หรือได้รับการพัฒนาแล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๘ การปฏิบัติฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ จะถือเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาจากพฤติกรรมของผู้ฝ่าฝืน ความจงใจหรือเจตนา มูลเหตุจูงใจ ความสำคัญและระดับตำแหน่ง ตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฝ่าฝืน อายุ ประวัติ และความประพฤติในอดีต สภาพแวดล้อมแห่งกรณี ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืนและเหตุอื่นอันควรนำมาประกอบการพิจารณา
ข้อ ๓๙ ให้คณะกรรมการจริยธรรมส่งผลคำวินิจฉัยให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยหมอนทอง หรือผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน แล้วแต่กรณีมีคำสั่งลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรม และเมื่อมีคำสั่งลงโทษแล้วให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง หรือผู้กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปัจจุบัน แล้วแต่กรณี แจ้งคณะกรรมการจริยธรรม เพื่อรายงานให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบต่อไป
ข้อ ๔๐ กรณีเกิดปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๔๑ ให้คณะกรรมการจริยธรรม พิจารณาปรับปรุงแก้ไขประมวลจริยธรรมให้มีความเหมาะสม โดยจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ทุก ๆ ๑ ปี หรือให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประมวลจริยธรรมให้มีความเหมำะสมตามคำแนะนำของผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ .............เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
(นายถวัลย์ ศรีสังข์)
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหมอนทอง